วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

บักเม่า


รายละเอียด
หมากเม่า (มะเม่า เม่าเสี้ยน มัดเซ) เป็นผลไม้ชั้นนำในเขตภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ส่วนภาคอื่นๆ เรียกว่า "เม่า" ชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesma velutinosum Blume ในวงศ์ Stilaginaceae. เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ความสูงประมาณ 12-15 เมตร ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม และผลจะสุกในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน

คุณค่าทางโภชนาการ ชองผลหมากเม่า (ต่อ 100 กรัม)

พลังงาน 75.20 กิโลแคลลอรี่
โปรตีน 0.63 กรัม
เยื่อใย 0.79 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 17.96 กรัม
แคลเซียม 13.30 มิลลิกรัม
เหล็ก 1.44 มิลลิกรัม
วิตามิน ซี 8.97 กรัม
วิตามิน บี1 4.50 ไมโครกรัม
วิตามิน บี 2 0.03 ไมโครกรัม
วิตามิน อี 0.38 ไมโครกรัม



ประโยชน์ “หมากเม่า”
1. ผลดิบสีเขียวอ่อน ประกอบอาหารคล้ายส้มตำเม่า
2. ผลแก่สีแดงมีรสเปรี้ยว ส่วนผลแก่จัดสีดำม่วง จะมีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานเป็นผลไม้สด
3. ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบายและบำรุงสายตา ใบสดนำมาอังไฟเพื่อใช้ประคบแก้อาการฟกช้ำดำเขียว เปลือกต้นเม่าใช้เป็นส่วนประกอบของลูกประคบ
4. ผลหมากเม่าสุก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด แคลเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามิน B1 B2 C และ E
5. ผลิตภัณฑ์แปรรูปเช่น น้ำผลไม้ ไวน์เม่า แยม กวน สีธรรมชาติผสมอาหาร ฯลฯ
6. น้ำเม่าสกัดเข้มข้น 100% มีสารอาหาร วิตามินหลายชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายรวมทั้ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ
7.ไวน์หมากเม่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
8.กัมมาลและคณะ (2546) ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV เชื้อรา เชื้อแบคทีเรียของสมุนไพรไทย 5 ชนิด คือ มะเม่า ฟ้าทลายโจร หญ้าแห้วหมู ผักเป็ดแดง และสายน้ำผึ้ง พบว่า มะเม่า สายน้ำผึ้ง และหญ้าแห้วหมู มีศักยภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ได้

 

หมากเม่า (มะเม่า เม่าเสี้ยน มัดเซ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น